วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่4



สารานุกรม คือเรื่องคัดย่อที่ถูกเขียนขึ้นสำหรับการรวบรวมความรู้ เป็นคำสมาสจากคำว่า"สาร"และ"อนุกรม" กล่าวคือเป็นความรู้ที่เป็นเรื่องราวถูกจัดเรียงในลำดับ จะมีทั้งประเภทความรู้ทั่วไป และความรู้เฉพาะด้านเช่น สารานุกรมการเกี่ยวกับการแพทย์ คณิตศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หรือ จัดทำเพื่อจุดประสงค์เฉพาะ เช่น สารานุกรมสำหรับเยาวชน


สารานุกรมที่เป็นที่รู้จักกันดีได้แก่ สารานุกรมบริเตนนิกา (Encyclopædia Britannica) สารานุกรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลกที่มีการตีพิมพ์ [1] ตีพิมพ์ฉบับแรกในภาษาอังกฤษในช่วงปี พ.ศ. 2311-2314 (ค.ศ. 1768–1771) ในเมืองเอดินบะระ สกอตแลนด์ ซึ่งในปัจจุบันได้มีการตีพิมพ์และจำหน่ายในฉบับซีดี


สารานุกรมสามารถเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเรื่องทั่วไป ดังที่ปรากฏในสารานุกรมที่มีชื่อเสียง สารานุกรมบริเตนนิกาในภาษาอังกฤษและสารานุกรมบร็อกเฮาส์ (Brockhaus)ในภาษาเยอรมัน หรือสารานุกรมอาจจะเป็นเรื่องราวเฉพาะทางเช่น สารานุกรมเกี่ยวกับ การแพทย์ ประวัติศาสตร์ ปรัชญา หรืออาจจะเป็นสารานุกรมที่ครอบคลุมเนื้อหาในแต่ละภูมิภาค ประเทศ หรือกลุ่มชน และขณะที่บางสารานุกรมจัดทำขึ้นเฉพาะกลุ่มเป้าหมาย เช่นสารานุกรมสำหรับเยาวชน ที่จะมีเนื้อหาที่อ่านง่าย และเข้าใจง่าย สารานุกรมจะใช้การจัดเรียงหัวข้อ 2 ลักษณะ คือ เรียงตามอักขระ และ เรียงตามกลุ่มเนื้อหา ในยุคปัจจุบันมีการพัฒนาของเทคโนโลยีได้มีการนำสารานุกรมมาจัดเก็บในรูปแบบใหม่รวมถึงการจัดเรียงลำดับข้อมูล ดังตัวอย่างเช่นโครงการวิกิพีเดีย และ เอชทูจีทู (h2g2) เพื่อให้การใช้งานสารานุกรมง่ายต่อการใช้


สารานุกรมเป็นคำสมาสจากคำ สาร และ อนุกรม มีความหมายรวมว่า สาระ หรือ เรื่องราว ซึ่งมีการจัดเรียงเป็นลำดับ หมวดหมู่ คำว่าสารานุกรมในภาษาอังกฤษ คือ Encyclopedia หรือ Encyclopædia ซึ่งมีที่มาจากภาษากรีก εγκύκλιος παιδεία (enkyklios paideia; "in a circle of instruction") จากคำว่า εγκύκλιος หมายถึง circuit shaped. โดย κύκλος หมายถึง circuit และ παιδεία หมายถึง instruction. คำว่า Encyclopedia นี้บางครั้งก็ใช้ว่า Cyclopaedia ซึ่งให้ความหมายเหมือนกัน


ในประเทศไทยมีโครงการจัดทำ สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฉบับกาญจนาภิเษก โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย ที่มีลักษณะคล้ายสารานุกรม


วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่3

การจัดกลุ่มแบ่งประเภทของสารานุกรม

สารานุกรมสามารถแบ่งออกได้หลายประเภทหลายรูปแบบ ซึ่งข้อมูลจากสารานุกรมเสรีวิกิพีเดีย [wikipedia.net] ให้หลัก
การแบ่งประเภทของสารานุกรม ออกเป็น ๔ ประเภท ได้แก่

(ก) แบ่งตามผู้แต่งหรือเรียบเรียงเนื้อหา
(ข) แบ่งตามความเจาะจงของเนื้อหา
(ค) แบ่งตามการเรียงลำดับของเนื้อหา
(ง) แบ่งตามรูปแบบในการนำเสนอ

จากข้อมูลการสำรวจ ประเภทของสารานุกรมดังกล่าวและจากข้อมูลประกอบอื่นๆ โครงการจัดทำสารานุกรมโทรคมนาคม
ไทยจึงแบ่งประเภทของสารานุกรมที่เกี่ยวข้องกับโครงการฯ เพื่อการจัดทำและการบริหารโครงการฯ ออกเป็นสองประเภทตาม
ลักษณะของการจัดทำ คือ สารานุกรมโดยผู้เชี่ยวชาญและสารานุกรมเสรี โดยสารานุกรมโดยผู้เชี่ยวชาญ มีเนื้อหามาจากการ
เขียนและเรียบเรียงโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะคุณภาพและการยอมรับจากผู้ใช้งาน ขึ้นอยู่กับชื่อเสียงของผู้เชี่ยวชาญหรือ
สำนักพิมพ์ เช่น สารานุกรมบริเตนนิกา (Britannica) ของประเทศสกอตแลนด์ เป็นต้น
ส่วนสารานุกรมเสรีมีเนื้อหามาจากบุคคลทั่วไปหลากหลายอาชีพสามารถแก้ไขปรับปรุงเพิ่มเติมเนื้อหาได้ทันทีผ่านทาง

เว็บไซต์ เน้นหลักการมีส่วนร่วมของผู้ใช้หรือบุคคลในวงกว้าง ดังนั้น เนื้อหาสารานุกรมเสรี จึงมีความหลากหลายของข้อมูล
และมีปัจจัยทางด้านลิขสิทธิ์ ที่ผู้อ่านสามารถนำเนื้อหาหรือซอฟต์แวร์ ไปใช้งานได้ภายใต้ข้อกำหนด โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เช่น
สารานุกรมเสรีวิกิพีเดีย (Wikipedia) ดังนั้นทางโครงการฯจึงนำข้อเด่นของสารานุกรมทั้งสองประเภทมาประกอบใช้ร่วมกันโดย
แสดงลักษณะการจัดทำสารานุกรมโดยผู้เชี่ยวชาญ และสารานุกรมเสรี

ที่มา รายละเอียด

วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่2


ประวัติและวิวัฒนาการของ สารานุกรม
สารานุกรม (Encyclopedia) คือ หนังสือที่รวบรวมความรู้ทั่วๆ ไปหรือความรู้เฉพาะสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง เช่น ด้านพืช ด้านคอมพิวเตอร์ ด้านภูมิศาสตร์ฯลฯ สารานุกรมชุดหนึ่งอาจจะประกอบด้วยสารานุกรมเล่มเดียว หรือหลายเล่ม ซึ่งในแต่ละเล่ม จะมีการจัดเรียงที่แตกต่างกันออกไปอาจเรียงลำดับตามตัวอักษร หรือเรียงลำดับตามเนื้อหาเพื่อความสะดวกต่อการค้นหา ความรู้ต่างๆ โดยเนื้อหาในสารานุกรมอาจจะมีภาพประกอบรูปถ่ายหรือตัวอย่างเพื่อช่วยให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น ดังนั้น กองบรรณาธิการ จึงได้สำรวจข้อมูลสารานุกรม เพื่อเป็นฐานข้อมูลความรู้ในการจัดทำสารานุกรมโทรคมนาคมไทย ดังนี้ ความหมายของสารานุกรม สารานุกรมเป็นคำสนธิมาจากรากศัพท์ในภาษาบาลี-สันสกฤต ได้แก่ “สาร” หรือ “สาระ” และคำว่า “อนุกรม” ทาง พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้ให้คำนิยามของ “สาร” ว่าหมายถึง “ส่วนสำคัญ ข้อใหญ่ใจความถ้อยคำ” และ “อนุกรม” หมายถึง “ลำดับ ระเบียบ ชั้น” โดยเมื่อทราบถึงความหมายของศัพท์ทั้งสองคำ จะได้ความหมายโดยรวมของ “สารานุกรม” คือ “หนังสือที่มีการรวบรวมความรู้สารพัดวิชาและเรียบเรียงเอาไว้อย่างเป็นหมวดหมู่” โดยการเรียบเรียง อาจจะ เป็นการเรียงลำดับ ตามความเกี่ยวเนื่องกันของเนื้อหาหรือการเรียงตามลำดับตัวอักษร สารานุกรมในภาษาอังกฤษใช้คำว่า encyclopedia หรือ encyclopædia (encyclopaedia) มาจากศัพท์เดิมในภาษา กรีกโบราณ ἐγκύκλια παιδεία (enkyklia paideia) ประกอบด้วยคำ “enkyklios " (“en”=“in” + “kyklios” ="circle") หมายถึง "circular" หรือความหมายอีกนัยหนึ่ง คือ "general" รวมกับ “paideia” ซึ่งหมายถึง "education, child-rearing" เมื่อนำมาแปล ตามกันจะได้ความหมายว่า “generaleducation” แต่ในหนังสือบางฉบับก็จะให้ความหมายต่างออกไปว่า หมายถึง "training in a circle"ประวัติและวิวัฒนาการของสารานุกรม จากการสำรวจพบว่าหนังสือที่รวบรวมความรู้มีต้นกำเนิดตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๓๐ ก่อนคริสตกาลโดยได้มีผู้รวบรวมเนื้อหา ความรู้ทั้งทางด้านปรัชญา ศิลปะ และความเข้าใจต่อสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติ รวบรวมเป็นหนังสือ ซึ่งหนังสือรวมความรู้ในยุคนั้นได้ สูญหายไปเกือบหมดแล้ว มีเพียงบางส่วนที่ยังหลงเหลือมาถึงปัจจุบันหนังสือรวมความรู้ที่เก่าแก่และคงความสมบูรณ์ไว้มากที่สุด คือ Historia Naturalis ซึ่งมีต้นกำเนิดในช่วงปี ค.ศ.๗๗ โดยนักเขียนชาวโรมัน ชื่อ Pliny the Elder อ้างอิงข้อมูลจาก Encycloprdia – MSN Encarta ยุคต่อมาช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๕ จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ โดยยุคนี้เป็นยุคฟื้นฟูของการศึกษาอารยธรรมและภาษาโบราณ (Renaissance) ทำให้หนังสือรวมความรู้ในยุคนี้ มีการบรรยายเนื้อหาด้วยภาษา ที่มีทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง หนังสือที่มีความ สำคัญมากที่สุดของยุคนี้ คือ Speculum majus (Great Mirror) ซึ่งถูกรวบรวมขึ้นจากงานเขียนของผู้เชี่ยวชาญกว่า ๔๕๐ คน โดยนักบวชในศริสตศาสนาชื่อ Vincent of Beauvais เมื่อช่วงกลาง ของคริสต์ศตวรรษที่ ๑๓ โดยหนังสือชุดนี้ ยังก่อให้เกิด ความสนใจ ต่อการศึกษาด้านวรรณคดีโบราณอีกด้วย (Encyclopedia – MSN Encarta)สารานุกรมบริเตนนิกา (Encyclopedia Britannica) เป็นหนังสือชุดแรกที่เป็นสารานุกรมอย่างแท้จริงถูกตีพิมพ์ขึ้นครั้งแรก เป็นภาษาอังกฤษที่เมืองเอดินเบิร์ก (Edinberg) ประเทศสกอตแลนด์ เมื่อปี ค.ศ. ๑๗๖๘–๑๗๗๑ สารานุกรมบริเตนนิกาเป็น สารานุกรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลกซึ่งเขียนและเรียบเรียงโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาวิชา ซึ่งเป็นสารานุกรมที่ได้รับความนิยม จากผู้ใช้งานได้ตีพิมพ์ออกมาอีกหลายครั้ง (edition) สารานุกรมบริเตนิกา เป็นต้นแบบในการจัดทำสารานุกรมในยุคต่อๆ มา เพราะหลังจากที่สารานุกรมบริเตนนิกาถูกเผยแพร่ได้มี สารานุกรมรูปแบบเดียวกันเกิดขึ้นอีกมากมาย ซึ่งในปัจจุบันสารานุกรม บริเตนนิกา มีการตีพิมพ์บทความมากกว่า ๑๐๐,๐๐๐ บทความ (อ้างอิงข้อมูลจากสารานุกรมวิกิพีเดีย) ตัวอย่างสารานุกรม บริเตนิกาในยุคแรกอย่างสารานุกรมบริเตนนิกา ณ หอสมุดของมหาวิทยาลัยแห่ง Groningen ประเทศเนเธอร์แลนด์ และตัวอย่างสารานุกรมบริเตนนิกา ปี ค.ศ. 2007 (พ.ศ. ๒๕๕๐)ในรูปแบบซีดี

วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่1


Related reference
David Howell Petraeus
The Columbia Encyclopedia, Sixth Edition
David Howell Petraeus , 1952-, American military officer, b. Cornwall, N.Y., studied
West Point (B.S., 1974), U.S. Army Command and General Staff College (1983), Princeton (M.P.A. 1985; Ph.D., 1987). Commissioned in the infantry, he became a colonel in 1995, a brigadier general in 2000, and a full (four-star) general in 2007. In addition to holding various major staff offices, he has commanded a batallion of the 101st Airborne Division (1991-93) and a brigade of the 82d Airborne Division (1995-97). Petraeus also has held command positions in Kuwait (1999-2000) and Bosnia (2001-2) and commanded (2004) the 101st Airborne in a year of combat in Iraq. Later (2004-5) he led both the Security Transition Command and NATO... Read more
ที่มา รายละเอียด