วันจันทร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2553

ดิฉันคิดว่าการที่วัยรุ่นในเอเซียมีโทรศัพท์ใช้ตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 10 ขวบนี้เป็นปัญหาที่ยากเกินที่จะแก้ไขเพราะเด็กวัยรุ่นสมัยนี้ชอบเอาแต่ใจและขี้อิจฉาริษยาเพื่อน ซึ่งการที่ผู้ปกครองไม่มีเวลาดูแลเด็กก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่เด็กต้องหันมาพึ่งโทรศัท์เพราะด็กไม่มีใครดูแลเลยต้องใช้โทรศัพท์ในการฟังเพลง,ดูหนัง,เล่นเกมส์และคุยกับเพื่อนบ้างเพื่อให้ตัวเองหายเหงา ในปัจจุบันนี้ก็ไม่แปลกเลยที่เด็กตั้งแต่อายุ 4 ขวบมีโทรศัพท์ใช้กันและไม่น่าแปลกเลยที่เด็กวัยรุ่นจะมีการนำเครื่องมือสื่อสารที่ทันสมัยมาใช้ในชีวิตประจำวัน แต่ผลเสียที่ตามมาก็เยอะพอสมควรเกี่ยวการใช้โทรศัพท์เช่นเด็กไม่สนใจในการเรียน,เกิดการอาชญากร,เด้กสมาธิสั้น,สมองในวัยเด็กช้ากว่าปกติ,ฯลฯ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ก็เกิดขึ้นให้เห็นในข่าวเป็นประจำ แนวทางในการแก้ปัญหาในขั้นแรกคือผู้ปกครองควรที่จะให้การความสนใจ,ให้ความใกล้ชิดและคอยอบรมแก่บุตรหลานของท่านให้มากๆ เพื่อป้องกันให้เด็กหายเหงา

วันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่11









ตัวอย่างเปรียบเทียบระดับการเข้าถึงเนื้อหาของพจนานุกรม สารานุกรมและหนังสือวิชาการ






ความหมายโดยสากลของสารานุกรม (Encyclopedia) คือ หนังสือที่รวบรวมความรู้ทั่วๆ ไปหรือความรู้เฉพาะสาขาวิชาใด
วิชาหนึ่ง เช่น ด้านพืชหรือสัตว์ ด้านภูมิศาสตร์หรือประวัติศาสตร์ ด้านคอมพิวเตอร์ และอื่นๆ เป็นต้น สารานุกรมชุดหนึ่ง อาจจะ
ประกอบด้วยหนังสือจำนวนเล่มเดียวหรือหลายเล่ม ซึ่งในแต่ละ
เล่มจะมีการจัดเรียงที่แตกต่างกันออกไป โดยอาจเรียงลำดับตาม
ตัวอักษร เรียงลำดับตามเนื้อหา หรืออื่นๆ เพื่อความสะดวกในการ
จัดหมวดหมู่และการค้นหา โดยเนื้อหาในสารานุกรม อาจจะมี
ภาพประกอบ รูปถ่าย หรือตัวอย่างเพื่อช่วยให้ผู้อ่านสามารถ
เข้าใจได้สะดวก
สารานุกรม เป็นคำสนธิอันเกิดจากรากศัพท์
ในภาษาบาลี-สันสกฤตได้แก่ “สาร” หรือ “สาระ”
และคำว่า “อนุกรม” โดยพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้นิยาม “สาร” ว่า หมายถึง “ส่วนสำคัญ ข้อใหญ่ใจความ ถ้อยคำ” และ “อนุกรม” หมายถึง “ลำดับ
ระเบียบ ชั้น” จากความหมายทั้งสองคำ นัยของ “สารานุกรม” จึงได้รับการนำเสนอ คือ “หนังสือที่มีการรวบรวมความรู้

สารพัดวิชาและเรียบเรียงเอาไว้อย่างเป็นหมวดหมู่”
การเรียบเรียงสารานุกรมนี้นั้นอาจจะจัดทำโดยการ
เรียงลำดับตามความเกี่ยวเนื่องกันของเนื้อหา หรือ
มาจากการเรียงตามลำดับตัวอักษร ส่วนคำว่า
สารานุกรมจากภาษาอังกฤษกับคำ encyclopedia
หรือ encyclopædia (encyclopaedia) ปรากฏอยู่
หลากหลายในแหล่งข้อมูลต่างๆ ทั้งสารานุกรมฉบับ
พิมพ์และโลกอินเทอร์เน็ตที่นำเสนอสอดคล้อง
กันว่ามาจากศัพท์เดิมของภาษากรีกโบราณ
(enkyklia paideia) อันประกอบ
ด้วยคำแรกว่า “enkyklios” (“en” คือ “in” รวมกับ
“kyklios” ที่หมายถึง “circle”) มีความหมายคือ
“circular” หรืออีกนัยหนึ่งคือ “general” เมื่อนำมา
ร่วมกับคำท้ายว่า “paideia” ซึ่งหมายถึง “education”
หรือ “general education” หรือการให้ความรู้
ทั่วๆไปแล้ว ดังนั้นความหมายหนึ่งที่เป็นพื้นฐานของ
encyclopedia จึงปรากฏเป็น “training in a circle”
หรือ “วัฏจักรแห่งการฝึกฝนเรียนรู้”








ที่มา รายละเอียด

แบบนำเสนอ




















วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่9

ประวัติความเป็นมาของโครงการสารานุกรมไทยฯ

1. สำหรับโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงปรารภกับอาจารย์ (ท่านประธาน) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2506 แต่ยังมิได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานจนกระทั่งปี พ.ศ.2511 จึงมีคณะกรรมการเข้าเฝ้าที่วังสวนจิตรลดาเป็นครั้งแรก ต่อมาปี พ.ศ.2512 จึงมีการพิจารณาเรื่องการทำสารานุกรมไทยฯ เล่มตัวอย่างขึ้น

เพื่อให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่จะให้มีสารานุกรมไทยที่คนไทยทำ ด้วยความมุ่งหมายที่จะให้เป็นหนังสือที่เป็นประโยชน์ต่อเยาวชน และส่งเสริมให้เยาวชนไทยได้หาความรู้พื้นฐานในเรื่องราวและวิชาการสาขาต่างๆ เป็นสามระดับด้วยกันคือ เด็กรุ่นเล็ก อ่านเข้าใจระดับหนึ่ง เด็กรุ่นกลางระดับหนึ่ง และเด็กรุ่นใหญ่รวมทั้งผู้ใหญ่ผู้สนใจอีกระดับหนึ่ง การเขียนบทความแต่ละเรื่อง จึงได้เขียนขึ้นให้ได้ลักษณะที่เหมาะสมสำหรับเยาวชนแต่ละรุ่น และพิมพ์ไว้โดยใช้อักษรขนาดต่างๆ กัน แต่ละเรื่องตั้งต้นด้วยเรื่องสำหรับเด็กรุ่นเล็กก่อน ถัดไปสำหรับเด็ก รุ่นกลางแล้วจึงเป็นเรื่องสำหรับระดับรุ่นใหญ่

ส่วนเรื่องทุนในการจัดทำหนังสือนี้ คณะไลออนส์แห่งประเทศไทยได้ให้ความร่วมมือจัดหาทุน โดยการถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อให้โครงการฯ นี้สำเร็จลุล่วงไปตามพระราชประสงค์

2. เมื่อเริ่มดำเนินงานในปี พ.ศ.2512 ก็ได้มีการเชิญคณาจารย์และผู้รู้ในสาขาวิชาต่างๆ 7 สาขาวิชาคือ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ เกษตรศาสตร์ คณิตศาสตร์และแพทยศาสตร์ มาเป็นกรรมการประสานงานเพื่อจัดทำสารานุกรมไทยฯ โดยมีการร่วมมือจากวิทยากรในสาขาวิชานั้นตลอดจนกรรมการฝ่ายต่างๆ อีกมากมาย เช่น ฝ่ายศิลป์, ฝ่ายภาษา, ฝ่ายการพิมพ์ เป็นต้น จนกระทั่งสารานุกรมไทยฯ เล่มที่ 1 ได้จัดพิมพ์แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2516 เป็นจำนวนหมื่นเล่ม และครึ่งหนึ่งของจำนวนพิมพ์ได้นำทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อพระราชทานแก่โรงเรียนและห้องสมุดต่างๆ ทั่วราชอาณาจักรต่อไป ส่วนจำนวนที่เหลือก็ได้นำออกจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไป

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นสารานุกรมไทยแบบเป็นชุด เน้นความรู้ที่เกิดขึ้นและใช้อยู่ในประเทศไทย จัดทำโดยคนไทย เพื่อให้คนไทยทุกเพศทุกวัยมีโอกาสได้อ่าน แต่ละเล่มรวบรวมเนื้อเรื่องจากหลากหลายสาขาวิชา เนื้อหาของวิชาต่างๆ เรียบเรียงให้เหมาะสมกับ 3 ระดับความรู้ ได้แก่ เด็กรุ่นเล็ก เด็กรุ่นกลาง และเด็กรุ่นใหญ่ รวมทั้งผู้ใหญ่ที่สนใจทั่วไป แต่ละเรื่องเริ่มต้นด้วยเนื้อหาของระดับเด็กรุ่นเล็ก ตามด้วยเนื้อหาของรุ่นกลางและรุ่นใหญ่ตามลำดับ เนื้อหาในแต่ละระดับพิมพ์ด้วยตัวอักษรขนาดต่างกัน


ที่มา รายละเอียด