วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่2


ประวัติและวิวัฒนาการของ สารานุกรม
สารานุกรม (Encyclopedia) คือ หนังสือที่รวบรวมความรู้ทั่วๆ ไปหรือความรู้เฉพาะสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง เช่น ด้านพืช ด้านคอมพิวเตอร์ ด้านภูมิศาสตร์ฯลฯ สารานุกรมชุดหนึ่งอาจจะประกอบด้วยสารานุกรมเล่มเดียว หรือหลายเล่ม ซึ่งในแต่ละเล่ม จะมีการจัดเรียงที่แตกต่างกันออกไปอาจเรียงลำดับตามตัวอักษร หรือเรียงลำดับตามเนื้อหาเพื่อความสะดวกต่อการค้นหา ความรู้ต่างๆ โดยเนื้อหาในสารานุกรมอาจจะมีภาพประกอบรูปถ่ายหรือตัวอย่างเพื่อช่วยให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น ดังนั้น กองบรรณาธิการ จึงได้สำรวจข้อมูลสารานุกรม เพื่อเป็นฐานข้อมูลความรู้ในการจัดทำสารานุกรมโทรคมนาคมไทย ดังนี้ ความหมายของสารานุกรม สารานุกรมเป็นคำสนธิมาจากรากศัพท์ในภาษาบาลี-สันสกฤต ได้แก่ “สาร” หรือ “สาระ” และคำว่า “อนุกรม” ทาง พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้ให้คำนิยามของ “สาร” ว่าหมายถึง “ส่วนสำคัญ ข้อใหญ่ใจความถ้อยคำ” และ “อนุกรม” หมายถึง “ลำดับ ระเบียบ ชั้น” โดยเมื่อทราบถึงความหมายของศัพท์ทั้งสองคำ จะได้ความหมายโดยรวมของ “สารานุกรม” คือ “หนังสือที่มีการรวบรวมความรู้สารพัดวิชาและเรียบเรียงเอาไว้อย่างเป็นหมวดหมู่” โดยการเรียบเรียง อาจจะ เป็นการเรียงลำดับ ตามความเกี่ยวเนื่องกันของเนื้อหาหรือการเรียงตามลำดับตัวอักษร สารานุกรมในภาษาอังกฤษใช้คำว่า encyclopedia หรือ encyclopædia (encyclopaedia) มาจากศัพท์เดิมในภาษา กรีกโบราณ ἐγκύκλια παιδεία (enkyklia paideia) ประกอบด้วยคำ “enkyklios " (“en”=“in” + “kyklios” ="circle") หมายถึง "circular" หรือความหมายอีกนัยหนึ่ง คือ "general" รวมกับ “paideia” ซึ่งหมายถึง "education, child-rearing" เมื่อนำมาแปล ตามกันจะได้ความหมายว่า “generaleducation” แต่ในหนังสือบางฉบับก็จะให้ความหมายต่างออกไปว่า หมายถึง "training in a circle"ประวัติและวิวัฒนาการของสารานุกรม จากการสำรวจพบว่าหนังสือที่รวบรวมความรู้มีต้นกำเนิดตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๓๐ ก่อนคริสตกาลโดยได้มีผู้รวบรวมเนื้อหา ความรู้ทั้งทางด้านปรัชญา ศิลปะ และความเข้าใจต่อสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติ รวบรวมเป็นหนังสือ ซึ่งหนังสือรวมความรู้ในยุคนั้นได้ สูญหายไปเกือบหมดแล้ว มีเพียงบางส่วนที่ยังหลงเหลือมาถึงปัจจุบันหนังสือรวมความรู้ที่เก่าแก่และคงความสมบูรณ์ไว้มากที่สุด คือ Historia Naturalis ซึ่งมีต้นกำเนิดในช่วงปี ค.ศ.๗๗ โดยนักเขียนชาวโรมัน ชื่อ Pliny the Elder อ้างอิงข้อมูลจาก Encycloprdia – MSN Encarta ยุคต่อมาช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๕ จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ โดยยุคนี้เป็นยุคฟื้นฟูของการศึกษาอารยธรรมและภาษาโบราณ (Renaissance) ทำให้หนังสือรวมความรู้ในยุคนี้ มีการบรรยายเนื้อหาด้วยภาษา ที่มีทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง หนังสือที่มีความ สำคัญมากที่สุดของยุคนี้ คือ Speculum majus (Great Mirror) ซึ่งถูกรวบรวมขึ้นจากงานเขียนของผู้เชี่ยวชาญกว่า ๔๕๐ คน โดยนักบวชในศริสตศาสนาชื่อ Vincent of Beauvais เมื่อช่วงกลาง ของคริสต์ศตวรรษที่ ๑๓ โดยหนังสือชุดนี้ ยังก่อให้เกิด ความสนใจ ต่อการศึกษาด้านวรรณคดีโบราณอีกด้วย (Encyclopedia – MSN Encarta)สารานุกรมบริเตนนิกา (Encyclopedia Britannica) เป็นหนังสือชุดแรกที่เป็นสารานุกรมอย่างแท้จริงถูกตีพิมพ์ขึ้นครั้งแรก เป็นภาษาอังกฤษที่เมืองเอดินเบิร์ก (Edinberg) ประเทศสกอตแลนด์ เมื่อปี ค.ศ. ๑๗๖๘–๑๗๗๑ สารานุกรมบริเตนนิกาเป็น สารานุกรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลกซึ่งเขียนและเรียบเรียงโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาวิชา ซึ่งเป็นสารานุกรมที่ได้รับความนิยม จากผู้ใช้งานได้ตีพิมพ์ออกมาอีกหลายครั้ง (edition) สารานุกรมบริเตนิกา เป็นต้นแบบในการจัดทำสารานุกรมในยุคต่อๆ มา เพราะหลังจากที่สารานุกรมบริเตนนิกาถูกเผยแพร่ได้มี สารานุกรมรูปแบบเดียวกันเกิดขึ้นอีกมากมาย ซึ่งในปัจจุบันสารานุกรม บริเตนนิกา มีการตีพิมพ์บทความมากกว่า ๑๐๐,๐๐๐ บทความ (อ้างอิงข้อมูลจากสารานุกรมวิกิพีเดีย) ตัวอย่างสารานุกรม บริเตนิกาในยุคแรกอย่างสารานุกรมบริเตนนิกา ณ หอสมุดของมหาวิทยาลัยแห่ง Groningen ประเทศเนเธอร์แลนด์ และตัวอย่างสารานุกรมบริเตนนิกา ปี ค.ศ. 2007 (พ.ศ. ๒๕๕๐)ในรูปแบบซีดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น