วันจันทร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2553

ดิฉันคิดว่าการที่วัยรุ่นในเอเซียมีโทรศัพท์ใช้ตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 10 ขวบนี้เป็นปัญหาที่ยากเกินที่จะแก้ไขเพราะเด็กวัยรุ่นสมัยนี้ชอบเอาแต่ใจและขี้อิจฉาริษยาเพื่อน ซึ่งการที่ผู้ปกครองไม่มีเวลาดูแลเด็กก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่เด็กต้องหันมาพึ่งโทรศัท์เพราะด็กไม่มีใครดูแลเลยต้องใช้โทรศัพท์ในการฟังเพลง,ดูหนัง,เล่นเกมส์และคุยกับเพื่อนบ้างเพื่อให้ตัวเองหายเหงา ในปัจจุบันนี้ก็ไม่แปลกเลยที่เด็กตั้งแต่อายุ 4 ขวบมีโทรศัพท์ใช้กันและไม่น่าแปลกเลยที่เด็กวัยรุ่นจะมีการนำเครื่องมือสื่อสารที่ทันสมัยมาใช้ในชีวิตประจำวัน แต่ผลเสียที่ตามมาก็เยอะพอสมควรเกี่ยวการใช้โทรศัพท์เช่นเด็กไม่สนใจในการเรียน,เกิดการอาชญากร,เด้กสมาธิสั้น,สมองในวัยเด็กช้ากว่าปกติ,ฯลฯ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ก็เกิดขึ้นให้เห็นในข่าวเป็นประจำ แนวทางในการแก้ปัญหาในขั้นแรกคือผู้ปกครองควรที่จะให้การความสนใจ,ให้ความใกล้ชิดและคอยอบรมแก่บุตรหลานของท่านให้มากๆ เพื่อป้องกันให้เด็กหายเหงา

วันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่11









ตัวอย่างเปรียบเทียบระดับการเข้าถึงเนื้อหาของพจนานุกรม สารานุกรมและหนังสือวิชาการ






ความหมายโดยสากลของสารานุกรม (Encyclopedia) คือ หนังสือที่รวบรวมความรู้ทั่วๆ ไปหรือความรู้เฉพาะสาขาวิชาใด
วิชาหนึ่ง เช่น ด้านพืชหรือสัตว์ ด้านภูมิศาสตร์หรือประวัติศาสตร์ ด้านคอมพิวเตอร์ และอื่นๆ เป็นต้น สารานุกรมชุดหนึ่ง อาจจะ
ประกอบด้วยหนังสือจำนวนเล่มเดียวหรือหลายเล่ม ซึ่งในแต่ละ
เล่มจะมีการจัดเรียงที่แตกต่างกันออกไป โดยอาจเรียงลำดับตาม
ตัวอักษร เรียงลำดับตามเนื้อหา หรืออื่นๆ เพื่อความสะดวกในการ
จัดหมวดหมู่และการค้นหา โดยเนื้อหาในสารานุกรม อาจจะมี
ภาพประกอบ รูปถ่าย หรือตัวอย่างเพื่อช่วยให้ผู้อ่านสามารถ
เข้าใจได้สะดวก
สารานุกรม เป็นคำสนธิอันเกิดจากรากศัพท์
ในภาษาบาลี-สันสกฤตได้แก่ “สาร” หรือ “สาระ”
และคำว่า “อนุกรม” โดยพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้นิยาม “สาร” ว่า หมายถึง “ส่วนสำคัญ ข้อใหญ่ใจความ ถ้อยคำ” และ “อนุกรม” หมายถึง “ลำดับ
ระเบียบ ชั้น” จากความหมายทั้งสองคำ นัยของ “สารานุกรม” จึงได้รับการนำเสนอ คือ “หนังสือที่มีการรวบรวมความรู้

สารพัดวิชาและเรียบเรียงเอาไว้อย่างเป็นหมวดหมู่”
การเรียบเรียงสารานุกรมนี้นั้นอาจจะจัดทำโดยการ
เรียงลำดับตามความเกี่ยวเนื่องกันของเนื้อหา หรือ
มาจากการเรียงตามลำดับตัวอักษร ส่วนคำว่า
สารานุกรมจากภาษาอังกฤษกับคำ encyclopedia
หรือ encyclopædia (encyclopaedia) ปรากฏอยู่
หลากหลายในแหล่งข้อมูลต่างๆ ทั้งสารานุกรมฉบับ
พิมพ์และโลกอินเทอร์เน็ตที่นำเสนอสอดคล้อง
กันว่ามาจากศัพท์เดิมของภาษากรีกโบราณ
(enkyklia paideia) อันประกอบ
ด้วยคำแรกว่า “enkyklios” (“en” คือ “in” รวมกับ
“kyklios” ที่หมายถึง “circle”) มีความหมายคือ
“circular” หรืออีกนัยหนึ่งคือ “general” เมื่อนำมา
ร่วมกับคำท้ายว่า “paideia” ซึ่งหมายถึง “education”
หรือ “general education” หรือการให้ความรู้
ทั่วๆไปแล้ว ดังนั้นความหมายหนึ่งที่เป็นพื้นฐานของ
encyclopedia จึงปรากฏเป็น “training in a circle”
หรือ “วัฏจักรแห่งการฝึกฝนเรียนรู้”








ที่มา รายละเอียด

แบบนำเสนอ




















วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่9

ประวัติความเป็นมาของโครงการสารานุกรมไทยฯ

1. สำหรับโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงปรารภกับอาจารย์ (ท่านประธาน) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2506 แต่ยังมิได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานจนกระทั่งปี พ.ศ.2511 จึงมีคณะกรรมการเข้าเฝ้าที่วังสวนจิตรลดาเป็นครั้งแรก ต่อมาปี พ.ศ.2512 จึงมีการพิจารณาเรื่องการทำสารานุกรมไทยฯ เล่มตัวอย่างขึ้น

เพื่อให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่จะให้มีสารานุกรมไทยที่คนไทยทำ ด้วยความมุ่งหมายที่จะให้เป็นหนังสือที่เป็นประโยชน์ต่อเยาวชน และส่งเสริมให้เยาวชนไทยได้หาความรู้พื้นฐานในเรื่องราวและวิชาการสาขาต่างๆ เป็นสามระดับด้วยกันคือ เด็กรุ่นเล็ก อ่านเข้าใจระดับหนึ่ง เด็กรุ่นกลางระดับหนึ่ง และเด็กรุ่นใหญ่รวมทั้งผู้ใหญ่ผู้สนใจอีกระดับหนึ่ง การเขียนบทความแต่ละเรื่อง จึงได้เขียนขึ้นให้ได้ลักษณะที่เหมาะสมสำหรับเยาวชนแต่ละรุ่น และพิมพ์ไว้โดยใช้อักษรขนาดต่างๆ กัน แต่ละเรื่องตั้งต้นด้วยเรื่องสำหรับเด็กรุ่นเล็กก่อน ถัดไปสำหรับเด็ก รุ่นกลางแล้วจึงเป็นเรื่องสำหรับระดับรุ่นใหญ่

ส่วนเรื่องทุนในการจัดทำหนังสือนี้ คณะไลออนส์แห่งประเทศไทยได้ให้ความร่วมมือจัดหาทุน โดยการถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อให้โครงการฯ นี้สำเร็จลุล่วงไปตามพระราชประสงค์

2. เมื่อเริ่มดำเนินงานในปี พ.ศ.2512 ก็ได้มีการเชิญคณาจารย์และผู้รู้ในสาขาวิชาต่างๆ 7 สาขาวิชาคือ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ เกษตรศาสตร์ คณิตศาสตร์และแพทยศาสตร์ มาเป็นกรรมการประสานงานเพื่อจัดทำสารานุกรมไทยฯ โดยมีการร่วมมือจากวิทยากรในสาขาวิชานั้นตลอดจนกรรมการฝ่ายต่างๆ อีกมากมาย เช่น ฝ่ายศิลป์, ฝ่ายภาษา, ฝ่ายการพิมพ์ เป็นต้น จนกระทั่งสารานุกรมไทยฯ เล่มที่ 1 ได้จัดพิมพ์แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2516 เป็นจำนวนหมื่นเล่ม และครึ่งหนึ่งของจำนวนพิมพ์ได้นำทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อพระราชทานแก่โรงเรียนและห้องสมุดต่างๆ ทั่วราชอาณาจักรต่อไป ส่วนจำนวนที่เหลือก็ได้นำออกจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไป

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นสารานุกรมไทยแบบเป็นชุด เน้นความรู้ที่เกิดขึ้นและใช้อยู่ในประเทศไทย จัดทำโดยคนไทย เพื่อให้คนไทยทุกเพศทุกวัยมีโอกาสได้อ่าน แต่ละเล่มรวบรวมเนื้อเรื่องจากหลากหลายสาขาวิชา เนื้อหาของวิชาต่างๆ เรียบเรียงให้เหมาะสมกับ 3 ระดับความรู้ ได้แก่ เด็กรุ่นเล็ก เด็กรุ่นกลาง และเด็กรุ่นใหญ่ รวมทั้งผู้ใหญ่ที่สนใจทั่วไป แต่ละเรื่องเริ่มต้นด้วยเนื้อหาของระดับเด็กรุ่นเล็ก ตามด้วยเนื้อหาของรุ่นกลางและรุ่นใหญ่ตามลำดับ เนื้อหาในแต่ละระดับพิมพ์ด้วยตัวอักษรขนาดต่างกัน


ที่มา รายละเอียด

วันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่8

หนังสือสารานุกรมไทย ฉบับกาญจนาภิเษก พิมพ์ขึ้นในพ.ศ.2542 มีทั้งหมด 60 เรื่อง โดยแบ่งเป็น 9 หมวด คือ
หมวดที่ 1 พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจสำคัญ
หมวดที่ 2 พระราชวงศ์
หมวดที่ 3 องค์กรและส่วนราชการ
หมวดที่ 4 มูลนิธิ ทุน รางวัล และโรงเรียน
หมวดที่ 5 พระราชสถานะและพระราชอำนาจตามรัฐธรรมนูญ
หมวดที่ 6 ราชธรรมและพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับศาสนา
หมวดที่ 7 พระราชพิธีในรัชกาลปัจจุบัน
หมวดที่ 8 พระบรมราชสัญลักษณ์และเรื่องราวเกี่ยวข้อง
หมวดที่ 9 เบ็ดเตล็ด

วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่7

ความถูกต้องของข้อมูลจากสารานุกรมโดยผู้เชี่ยวชาญและสารานุกรมเสรี

สารานุกรมเสรีวิกิพีเดียเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายเนื่องจากเป็นสารานุกรมเสรีออนไลน์ สามารถค้นหาข้อมูลรวมถึงสามารถเพิ่มเติม ปรับปรุงแก้ไขเนื้อหาได้ทันทีผ่านทางเว็บไซต์ ส่วนในด้านความถูกต้องของข้อมูล มีความถูกต้องมากน้อยเพียงใด เมื่อเปรียบเทียบกับสารานุกรมโดยผู้เชี่ยวชาญ เช่น สารานุกรมบริเตนนิกา ซึ่งเป็นที่น่าเชื่อถือและเก่าแก่ที่สุดในโลก จึงมีการสำรวจด้านความถูกต้องของข้อมูลระหว่างสารานุกรมเสรีวิกิพีเดียและสารานุกรมบริเตนนิกา ทั้งนี้มีผลอ้างอิงจากการสำรวจการทดสอบความถูกต้อง ของบทความวิทยาศาสตร์โดยนิตยสาร Nature (วารสารทางด้านวิทยาศาสตร์ซึ่งได้รับความเชื่อถือเป็นอย่างสูง) ฉบับวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๔๘ หัวข้อเรื่อง Internet encyclopedias go head to head โดยนิตยสาร Nature ได้เลือกบทความ ในส่วนวิทยาศาสตร์ของสารานุกรมโดยผู้เชี่ยวชาญ (สารานุกรมบริเตนนิกา) และสารานุกรมเสรี (สารานุกรมเสรีวิกิพีเดีย) มาตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา การใช้คำที่เหมาะสม ความสวยงามของประโยคที่ใช้ ว่ามีความผิดพลาด ต่างกันมากเพียงใด ซึ่งผลจำนวนการผิดพลาดของสารานุกรมเสรี (สารานุกรมเสรีวิกิพีเดีย) กับสารานุกรม โดยผู้เชี่ยวชาญ (สารานุกรมบริเตนนิกา)จากนิตยสาร Nature แสดงได้ดังตารางการเปรียบเทียบ ความผิดพลาดของสารานุกรมโดยผู้เชี่ยวชาญ (Britannica) และ
สารานุกรมเสรี (Wikipedia)


ที่มา รายละเอียด

วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่6

การสำรวจสารานุกรมออนไลน์

ในอดีตนั้นการจัดทำสารานุกรมจะจัดทำในรูปแบบของหนังสือ ต่อมามีการพัฒนาให้อยู่ในรูปแบบของซอฟต์แวร์ (บันทึก ลงซีดี) นอกจากนี้ยังนำเนื้อหาสารานุกรมมาอยู่ในรูปแบบของเว็บไซต์(สารานุกรมออนไลน์) อีกด้วยโดยสารานุกรมออนไลน์นี้ เป็นการนำเครื่องมือมาเป็นสื่อกลางในการสื่อสารระหว่างผู้ใช้ ได้แก่ เว็บไซต์ สาเหตุที่มีการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการการจัดทำสารานุกรมเนื่องจากมีความสะดวกสบายและง่ายต่อการเข้าถึงมากขึ้น สารานุกรมออนไลน์ มิได้มีเพียงแต่การนำข้อมูลจากหนังสือมาจัดการบนเว็บไซต์ เพียงเท่านั้นแต่ได้มีการจัดทำสารานุกรมโดยให้ผู้ใช้เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างบทสารานุกรมขึ้นมารวมทั้งร่วมอภิปรายแก้ไขในบทสารานุกรมต่างๆ อีกด้วย

ประเภทของสารานุกรมออนไลน์ สามารถแบ่งออกเป็นสองประเภท

ก). แบ่งตามการใช้งานของผู้ใช้

หากแบ่งประเภทของสารานุกรมออนไลน์ตามการใช้งานของผู้ใช้แล้วสารานุกรมออนไลน์แต่ละแห่งนั้นจะมีความแตกต่าง
กันในเรื่องของการถ่ายทอดความรู้ของบทสารานุกรมผ่านเว็บไซต์โดยสามารถแบ่งประเภทของการให้ความรู้นั้นออกเป็นสอง
กลุ่มย่อย ได้แก่

(๑) กลุ่มที่ ๑ สารานุกรมออนไลน์ที่ให้ความรู้เพียงอย่างเดียวแต่ไม่มีการให้ผู้ใช้มีส่วนร่วมในการอภิปรายหรือแก้ไขในบท
สารานุกรม โดยสารานุกรมประเภทนี้จะนำสารานุกรมต่างๆ ที่ได้ตีพิมพ์ในหนังสือ มาอธิบายหรือให้ความรู้ผ่านเว็บไซต์
สารานุกรมออนไลน์ ประเภทนี้ เช่นโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

(๒) กลุ่มที่ ๒ เป็นสารานุกรมออนไลน์ที่เปิดกว้าง ให้ผู้ใช้มีส่วนร่วมในการอภิปราย แสดงความคิดเห็นรวมถึงแก้ไขบท
สารานุกรม ดังนั้นบทสารานุกรมต่างๆ นั้นจึงเกิดขึ้นจากการที่ผู้ใช้ร่วมกันสร้างขึ้นมาร่วมกัน โดยบทความจะถูกกลั่นกรองข้อมูล
ไปในตัวระหว่างที่มีการร่วมกันอภิปราย ของผู้ใช้สารานุกรมออนไลน์ประเภทนี้ ตัวอย่างของสารานุกรมออนไลน์ประเภทนี้ เช่น วีกิพีเดีย LoveToKnow1911

ที่มา รายละเอียด

วันพุธที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่5

สารานุกรมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

สารานุกรมทั่วไป (General Encyclopedias)

คือ สารานุกรมที่ให้ความรู้และข้อเท็จจริงทุกสาขาวิชา เป็นสารานุกรมที่จัดทำขึ้นสำหรับผู้อ่านทั่วไป ไม่ใช่สำหรับนักวิชาการอาจแบ่งย่อยออกเป็น 2 ประเภท คือ สารุกรมสำหรับเด็ก และสารานุกรมสำหรับผู้ใหญ่
สารานุกรมสำหรับเด็กแตกต่างจากสารานุกรมสำหรับผู้ใหญ่ คือสารานุกรมสำหรับเด็กมีขอบเขตแคบ เน้นเสริมหลักสูตรการเรียนการสอนในโรงเรียน ภาษาที่ใช้จะเป็นภาษาที่เด็กเข้าใจได้ง่าย ส่วนสารานุกรมสำหรับผู้ใหญ่จะมีขอบเขตกว้างขวางกว่า ภาษาที่ใช้เหมาะสมกับผู้ใหญ่

สารานุกรมเฉพาะวิชา (Subject Encyclopedias)

คือ สารานุกรมที่จัดทำขึ้นสำหรับนักวิชาการหรือผู้สนใจในสาขาวิชาต่าง ๆ มุ่งให้ข้อเท็จจริงเฉพาะสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง อธิบายรายละเอียดลึกซึ้งกว่าสารานุกรมทั่วไป

ตัวอย่างสารานุกรมทั่วไป

สารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พระนคร : ราชบัณฑิตยสถาน, 2498 – ปัจจุบัน.

เป็นสารานุกรมชุดแรกของไทย ให้ความรู้และข้อเท็จจริงในหลายสาขาวิชา เช่น สาขาวิชาสังคมศาสตร์ เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประวัติศาสตร์ ศาสนา ปรัชญา วรรณคดี ศิลปกรรม วัฒนธรรม เป็นต้น บทความแต่ละบทความจะมีอักษรย่อชื่อและสกุลของผู้เขียนไว้ท้ายบทความโดยแจ้งชื่อเต็มพร้อมคุณวุฒิและตำแหน่งงานไว้ท้ายเล่มทุกเล่ม มีดรรชนีท้ายเล่มทุกเล่ม ปัจจุบันได้มีการจัดพิมพ์ถึงเล่มที่ 23 ถึงคำว่า แม่แรง

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


ที่มา รายละเอียด

วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่4



สารานุกรม คือเรื่องคัดย่อที่ถูกเขียนขึ้นสำหรับการรวบรวมความรู้ เป็นคำสมาสจากคำว่า"สาร"และ"อนุกรม" กล่าวคือเป็นความรู้ที่เป็นเรื่องราวถูกจัดเรียงในลำดับ จะมีทั้งประเภทความรู้ทั่วไป และความรู้เฉพาะด้านเช่น สารานุกรมการเกี่ยวกับการแพทย์ คณิตศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หรือ จัดทำเพื่อจุดประสงค์เฉพาะ เช่น สารานุกรมสำหรับเยาวชน


สารานุกรมที่เป็นที่รู้จักกันดีได้แก่ สารานุกรมบริเตนนิกา (Encyclopædia Britannica) สารานุกรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลกที่มีการตีพิมพ์ [1] ตีพิมพ์ฉบับแรกในภาษาอังกฤษในช่วงปี พ.ศ. 2311-2314 (ค.ศ. 1768–1771) ในเมืองเอดินบะระ สกอตแลนด์ ซึ่งในปัจจุบันได้มีการตีพิมพ์และจำหน่ายในฉบับซีดี


สารานุกรมสามารถเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเรื่องทั่วไป ดังที่ปรากฏในสารานุกรมที่มีชื่อเสียง สารานุกรมบริเตนนิกาในภาษาอังกฤษและสารานุกรมบร็อกเฮาส์ (Brockhaus)ในภาษาเยอรมัน หรือสารานุกรมอาจจะเป็นเรื่องราวเฉพาะทางเช่น สารานุกรมเกี่ยวกับ การแพทย์ ประวัติศาสตร์ ปรัชญา หรืออาจจะเป็นสารานุกรมที่ครอบคลุมเนื้อหาในแต่ละภูมิภาค ประเทศ หรือกลุ่มชน และขณะที่บางสารานุกรมจัดทำขึ้นเฉพาะกลุ่มเป้าหมาย เช่นสารานุกรมสำหรับเยาวชน ที่จะมีเนื้อหาที่อ่านง่าย และเข้าใจง่าย สารานุกรมจะใช้การจัดเรียงหัวข้อ 2 ลักษณะ คือ เรียงตามอักขระ และ เรียงตามกลุ่มเนื้อหา ในยุคปัจจุบันมีการพัฒนาของเทคโนโลยีได้มีการนำสารานุกรมมาจัดเก็บในรูปแบบใหม่รวมถึงการจัดเรียงลำดับข้อมูล ดังตัวอย่างเช่นโครงการวิกิพีเดีย และ เอชทูจีทู (h2g2) เพื่อให้การใช้งานสารานุกรมง่ายต่อการใช้


สารานุกรมเป็นคำสมาสจากคำ สาร และ อนุกรม มีความหมายรวมว่า สาระ หรือ เรื่องราว ซึ่งมีการจัดเรียงเป็นลำดับ หมวดหมู่ คำว่าสารานุกรมในภาษาอังกฤษ คือ Encyclopedia หรือ Encyclopædia ซึ่งมีที่มาจากภาษากรีก εγκύκλιος παιδεία (enkyklios paideia; "in a circle of instruction") จากคำว่า εγκύκλιος หมายถึง circuit shaped. โดย κύκλος หมายถึง circuit และ παιδεία หมายถึง instruction. คำว่า Encyclopedia นี้บางครั้งก็ใช้ว่า Cyclopaedia ซึ่งให้ความหมายเหมือนกัน


ในประเทศไทยมีโครงการจัดทำ สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฉบับกาญจนาภิเษก โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย ที่มีลักษณะคล้ายสารานุกรม


วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่3

การจัดกลุ่มแบ่งประเภทของสารานุกรม

สารานุกรมสามารถแบ่งออกได้หลายประเภทหลายรูปแบบ ซึ่งข้อมูลจากสารานุกรมเสรีวิกิพีเดีย [wikipedia.net] ให้หลัก
การแบ่งประเภทของสารานุกรม ออกเป็น ๔ ประเภท ได้แก่

(ก) แบ่งตามผู้แต่งหรือเรียบเรียงเนื้อหา
(ข) แบ่งตามความเจาะจงของเนื้อหา
(ค) แบ่งตามการเรียงลำดับของเนื้อหา
(ง) แบ่งตามรูปแบบในการนำเสนอ

จากข้อมูลการสำรวจ ประเภทของสารานุกรมดังกล่าวและจากข้อมูลประกอบอื่นๆ โครงการจัดทำสารานุกรมโทรคมนาคม
ไทยจึงแบ่งประเภทของสารานุกรมที่เกี่ยวข้องกับโครงการฯ เพื่อการจัดทำและการบริหารโครงการฯ ออกเป็นสองประเภทตาม
ลักษณะของการจัดทำ คือ สารานุกรมโดยผู้เชี่ยวชาญและสารานุกรมเสรี โดยสารานุกรมโดยผู้เชี่ยวชาญ มีเนื้อหามาจากการ
เขียนและเรียบเรียงโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะคุณภาพและการยอมรับจากผู้ใช้งาน ขึ้นอยู่กับชื่อเสียงของผู้เชี่ยวชาญหรือ
สำนักพิมพ์ เช่น สารานุกรมบริเตนนิกา (Britannica) ของประเทศสกอตแลนด์ เป็นต้น
ส่วนสารานุกรมเสรีมีเนื้อหามาจากบุคคลทั่วไปหลากหลายอาชีพสามารถแก้ไขปรับปรุงเพิ่มเติมเนื้อหาได้ทันทีผ่านทาง

เว็บไซต์ เน้นหลักการมีส่วนร่วมของผู้ใช้หรือบุคคลในวงกว้าง ดังนั้น เนื้อหาสารานุกรมเสรี จึงมีความหลากหลายของข้อมูล
และมีปัจจัยทางด้านลิขสิทธิ์ ที่ผู้อ่านสามารถนำเนื้อหาหรือซอฟต์แวร์ ไปใช้งานได้ภายใต้ข้อกำหนด โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เช่น
สารานุกรมเสรีวิกิพีเดีย (Wikipedia) ดังนั้นทางโครงการฯจึงนำข้อเด่นของสารานุกรมทั้งสองประเภทมาประกอบใช้ร่วมกันโดย
แสดงลักษณะการจัดทำสารานุกรมโดยผู้เชี่ยวชาญ และสารานุกรมเสรี

ที่มา รายละเอียด

วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่2


ประวัติและวิวัฒนาการของ สารานุกรม
สารานุกรม (Encyclopedia) คือ หนังสือที่รวบรวมความรู้ทั่วๆ ไปหรือความรู้เฉพาะสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง เช่น ด้านพืช ด้านคอมพิวเตอร์ ด้านภูมิศาสตร์ฯลฯ สารานุกรมชุดหนึ่งอาจจะประกอบด้วยสารานุกรมเล่มเดียว หรือหลายเล่ม ซึ่งในแต่ละเล่ม จะมีการจัดเรียงที่แตกต่างกันออกไปอาจเรียงลำดับตามตัวอักษร หรือเรียงลำดับตามเนื้อหาเพื่อความสะดวกต่อการค้นหา ความรู้ต่างๆ โดยเนื้อหาในสารานุกรมอาจจะมีภาพประกอบรูปถ่ายหรือตัวอย่างเพื่อช่วยให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น ดังนั้น กองบรรณาธิการ จึงได้สำรวจข้อมูลสารานุกรม เพื่อเป็นฐานข้อมูลความรู้ในการจัดทำสารานุกรมโทรคมนาคมไทย ดังนี้ ความหมายของสารานุกรม สารานุกรมเป็นคำสนธิมาจากรากศัพท์ในภาษาบาลี-สันสกฤต ได้แก่ “สาร” หรือ “สาระ” และคำว่า “อนุกรม” ทาง พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้ให้คำนิยามของ “สาร” ว่าหมายถึง “ส่วนสำคัญ ข้อใหญ่ใจความถ้อยคำ” และ “อนุกรม” หมายถึง “ลำดับ ระเบียบ ชั้น” โดยเมื่อทราบถึงความหมายของศัพท์ทั้งสองคำ จะได้ความหมายโดยรวมของ “สารานุกรม” คือ “หนังสือที่มีการรวบรวมความรู้สารพัดวิชาและเรียบเรียงเอาไว้อย่างเป็นหมวดหมู่” โดยการเรียบเรียง อาจจะ เป็นการเรียงลำดับ ตามความเกี่ยวเนื่องกันของเนื้อหาหรือการเรียงตามลำดับตัวอักษร สารานุกรมในภาษาอังกฤษใช้คำว่า encyclopedia หรือ encyclopædia (encyclopaedia) มาจากศัพท์เดิมในภาษา กรีกโบราณ ἐγκύκλια παιδεία (enkyklia paideia) ประกอบด้วยคำ “enkyklios " (“en”=“in” + “kyklios” ="circle") หมายถึง "circular" หรือความหมายอีกนัยหนึ่ง คือ "general" รวมกับ “paideia” ซึ่งหมายถึง "education, child-rearing" เมื่อนำมาแปล ตามกันจะได้ความหมายว่า “generaleducation” แต่ในหนังสือบางฉบับก็จะให้ความหมายต่างออกไปว่า หมายถึง "training in a circle"ประวัติและวิวัฒนาการของสารานุกรม จากการสำรวจพบว่าหนังสือที่รวบรวมความรู้มีต้นกำเนิดตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๓๐ ก่อนคริสตกาลโดยได้มีผู้รวบรวมเนื้อหา ความรู้ทั้งทางด้านปรัชญา ศิลปะ และความเข้าใจต่อสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติ รวบรวมเป็นหนังสือ ซึ่งหนังสือรวมความรู้ในยุคนั้นได้ สูญหายไปเกือบหมดแล้ว มีเพียงบางส่วนที่ยังหลงเหลือมาถึงปัจจุบันหนังสือรวมความรู้ที่เก่าแก่และคงความสมบูรณ์ไว้มากที่สุด คือ Historia Naturalis ซึ่งมีต้นกำเนิดในช่วงปี ค.ศ.๗๗ โดยนักเขียนชาวโรมัน ชื่อ Pliny the Elder อ้างอิงข้อมูลจาก Encycloprdia – MSN Encarta ยุคต่อมาช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๕ จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ โดยยุคนี้เป็นยุคฟื้นฟูของการศึกษาอารยธรรมและภาษาโบราณ (Renaissance) ทำให้หนังสือรวมความรู้ในยุคนี้ มีการบรรยายเนื้อหาด้วยภาษา ที่มีทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง หนังสือที่มีความ สำคัญมากที่สุดของยุคนี้ คือ Speculum majus (Great Mirror) ซึ่งถูกรวบรวมขึ้นจากงานเขียนของผู้เชี่ยวชาญกว่า ๔๕๐ คน โดยนักบวชในศริสตศาสนาชื่อ Vincent of Beauvais เมื่อช่วงกลาง ของคริสต์ศตวรรษที่ ๑๓ โดยหนังสือชุดนี้ ยังก่อให้เกิด ความสนใจ ต่อการศึกษาด้านวรรณคดีโบราณอีกด้วย (Encyclopedia – MSN Encarta)สารานุกรมบริเตนนิกา (Encyclopedia Britannica) เป็นหนังสือชุดแรกที่เป็นสารานุกรมอย่างแท้จริงถูกตีพิมพ์ขึ้นครั้งแรก เป็นภาษาอังกฤษที่เมืองเอดินเบิร์ก (Edinberg) ประเทศสกอตแลนด์ เมื่อปี ค.ศ. ๑๗๖๘–๑๗๗๑ สารานุกรมบริเตนนิกาเป็น สารานุกรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลกซึ่งเขียนและเรียบเรียงโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาวิชา ซึ่งเป็นสารานุกรมที่ได้รับความนิยม จากผู้ใช้งานได้ตีพิมพ์ออกมาอีกหลายครั้ง (edition) สารานุกรมบริเตนิกา เป็นต้นแบบในการจัดทำสารานุกรมในยุคต่อๆ มา เพราะหลังจากที่สารานุกรมบริเตนนิกาถูกเผยแพร่ได้มี สารานุกรมรูปแบบเดียวกันเกิดขึ้นอีกมากมาย ซึ่งในปัจจุบันสารานุกรม บริเตนนิกา มีการตีพิมพ์บทความมากกว่า ๑๐๐,๐๐๐ บทความ (อ้างอิงข้อมูลจากสารานุกรมวิกิพีเดีย) ตัวอย่างสารานุกรม บริเตนิกาในยุคแรกอย่างสารานุกรมบริเตนนิกา ณ หอสมุดของมหาวิทยาลัยแห่ง Groningen ประเทศเนเธอร์แลนด์ และตัวอย่างสารานุกรมบริเตนนิกา ปี ค.ศ. 2007 (พ.ศ. ๒๕๕๐)ในรูปแบบซีดี

วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่1


Related reference
David Howell Petraeus
The Columbia Encyclopedia, Sixth Edition
David Howell Petraeus , 1952-, American military officer, b. Cornwall, N.Y., studied
West Point (B.S., 1974), U.S. Army Command and General Staff College (1983), Princeton (M.P.A. 1985; Ph.D., 1987). Commissioned in the infantry, he became a colonel in 1995, a brigadier general in 2000, and a full (four-star) general in 2007. In addition to holding various major staff offices, he has commanded a batallion of the 101st Airborne Division (1991-93) and a brigade of the 82d Airborne Division (1995-97). Petraeus also has held command positions in Kuwait (1999-2000) and Bosnia (2001-2) and commanded (2004) the 101st Airborne in a year of combat in Iraq. Later (2004-5) he led both the Security Transition Command and NATO... Read more
ที่มา รายละเอียด

วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2553

หมู่เกาะเสม็ด

หมู่เกาะเสม็ด
สถานที่ท่องเที่ยวทางทะเล ที่ได้รับความนิยมตลอดทุกยุคทุกสมัย
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย...ข้อมูล ปนัด...ภาพ

อุทยานเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2524 มีเนื้อที่ 81,875 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่บนฝั่งและใ
นทะเล ตลอดจนเกาะต่าง ๆ ประกอบด้วยสถานที่น่าสนใจ คือ หาดแม่รำพึง เขาแหลมหญ้า และหมู่เกาะเสม็ด อันประกอบไปด้วย เกาะเสม็ด เกาะจันทร์ เกาะสันฉลาม เกาะหินขาว เกาะค้างคาว เกาะกุฎี เกาะกรวย และเกาะปลาตีน
อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด มีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ 3 เส้นทาง คือ เกาะเสม็ด เกาะกุฎี และเขาแหลมหญ้า ในแต่ละเส้นทางจะพบพันธุ์ไม้นานาชนิด เช่น พันธุ์มะนาวป่า ต้นไข่เต่า ต้นขันทองพยาบาท ต้นเสม็ดแดง
และสัตว์ป่า เช่น อีเห็นเครือ พังพอนเล็ก ลิงแสม กระรอกหลากสี นกนางแอ่นบ้าน และนกฮูก เป็นต้น
นอกจากนั้นยังมีจุดชมวิวทั้ง 3 เส้นทาง อีกด้วย บริเวณที่ทำการอุทยานเขาแหลมหญ้ามี บริการบ้านพักด้วย รายละเอียดติดต่อ โทร. 0 2562 0760 หรือสำรองที่พักด้วยตนเองที่
http://www.dnp.go.th/
เกาะเสม็ด เชื่อกันว่าคือเกาะแก้วพิสดาร ในวรรณคดีเรื่องพระอภัยมณี ของสุนทรภู่ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อของระยอง ที่ได้รับความนิยมทั้งจากชาวไทยและต่างประเทศ ตั้งอยู่ตำบลเพ อำเภอเมือง อยู่ห่างจากชายฝั่งบ้านเพประมาณ 6.5 กิโลเมตร
มีเนื้อที่ประมาณ 3,125 ไร่ มีลักษณะเป็นเกาะรูปสามเหลี่ยม
ส่วนฐานของเกาะอยู่ด้านทิศเหนือ ซึ่งหันเข้าสู่ฝั่งบ้านเพ มีภูเขาสลับซับซ้อนกันอยู่ 2-3 ลูก มีที่ราบอยู่ตามริมฝั่งชายหาด ส่วนใหญ่จะอยู่ทางด้านเหนือ และตะวันออก
เหตุที่มีชื่อว่า เกาะเสม็ด เพราะเกาะนี้มีต้นเสม็ดขาว และเสม็ดแดงขึ้อยู่มาก ซึ่งในอดีตชาวบ้านนำมาใช้ทำไต้จุดไฟ บนเกาะเสม็ดไม่มีแม่น้ำลำคลอง ประมาณ 80% ของพื้นที่ เป็นภูเขาและป่าไม้เบญจพรรณ ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-กันยายน ช่วงเดือนพฤษภาคมมีมรสุมและคลื่นลมจัดมาก เดือนสิงหาคมมีฝนตกชุก
การเดินทางจากบ้านเพไปเกาะเสม็ด จากท่าเรือบ้านเพ มีเรือโดยสารบริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง (รอผู้โดยสารอย่างน้อยประมาณ 7 คนจึงออกเรือ) ค่าโดยสารระหว่างบ้านเพ-เกาะเสม็ด ไป-กลับ 100 บาท ใช้ เวลาเดินทางประมาณ 40 นาที
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ท่าเรือเพ (ตรงข้ามเซเว่น) โทร.์ 0-3889-6155-6 ท่าเรือนวลทิพย์ โทร. 0 3865 1508, 0 3865 1956 ท่าเรือศรีบ้านเพ โทร. 0 3865 1901-2, 0 3865 1736 ท่าเรือสะพานปลาบ้านเพ โทร. 0 3865 1441
การเดินทางบนเกาะเสม็ด บนเกาะเสม็ดมีถนนเพียงสายเดียว เป็นทั้งถนนคอนกรีต และถนนดิน บนเกาะมีรถสองแถวบริการเริ่มจากท่าเรือหน้าด่านไปตามหาดต่าง ๆ แล้วไปสิ้นสุดที่อ่าวปะการัง ราคาขึ้นอยู่กับระยะทาง หรือแล้วแต่จะตกลงกัน ราคาค่ารถสองแถวเริ่มต้นที่ราคา 20100 บาท หากต้องการจะเหมาเที่ยวทั้งเกาะราคาประมาณ 1,500 บาท
สถานที่น่าสนใจบนเกาะเสม็ด และเกาะใกล้เคียง ชายหาด หาดต่างๆ ส่วนใหญ่อยู่ทางด้านตะวันออกของเกาะ แต่ละหาดอยู่ในอ่าวเล็ก ๆ มีความยาวประมาณ 200 เมตร เรียงตามลำดับจากทิศเหนือไปทิศใต้ ดังนี้ หาดทรายแก้ว หาดหินโคร่ง หาดคลองไผ่ อ่าวพุทรา อ่าวทับทิม อ่าวนวล อ่าวช่อ อ่าวคอก อ่าวเทียน อ่าวหวาย อ่าวกิ่วหน้านอก อ่าวกะรัง
ทางด้านตะวันตกมีหาดทรายอยู่แห่งเดียว คือ ที่อ่าวพร้าว จากหาดทรายแก้ว และหาดวงเดือน สามารถเดินทางไปหาดอื่น ๆ ได้โดยใช้บริการรถรับจ้าง หรือเดินเท้าไปเอง สถานีเพาะพันธุ์ปลา กรมประมง ตั้งอยู่บริเวณอ่าวน้อยหน่า เป็นสถานีทดลองเล็กๆ ซึ่งมีกระชังทดลองเพาะพันธุ์ปลาทะเลที่ยังไม่สามารถผสมพันธุ์ได้
รายละเอียดสถานที่