วันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่8

หนังสือสารานุกรมไทย ฉบับกาญจนาภิเษก พิมพ์ขึ้นในพ.ศ.2542 มีทั้งหมด 60 เรื่อง โดยแบ่งเป็น 9 หมวด คือ
หมวดที่ 1 พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจสำคัญ
หมวดที่ 2 พระราชวงศ์
หมวดที่ 3 องค์กรและส่วนราชการ
หมวดที่ 4 มูลนิธิ ทุน รางวัล และโรงเรียน
หมวดที่ 5 พระราชสถานะและพระราชอำนาจตามรัฐธรรมนูญ
หมวดที่ 6 ราชธรรมและพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับศาสนา
หมวดที่ 7 พระราชพิธีในรัชกาลปัจจุบัน
หมวดที่ 8 พระบรมราชสัญลักษณ์และเรื่องราวเกี่ยวข้อง
หมวดที่ 9 เบ็ดเตล็ด

วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่7

ความถูกต้องของข้อมูลจากสารานุกรมโดยผู้เชี่ยวชาญและสารานุกรมเสรี

สารานุกรมเสรีวิกิพีเดียเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายเนื่องจากเป็นสารานุกรมเสรีออนไลน์ สามารถค้นหาข้อมูลรวมถึงสามารถเพิ่มเติม ปรับปรุงแก้ไขเนื้อหาได้ทันทีผ่านทางเว็บไซต์ ส่วนในด้านความถูกต้องของข้อมูล มีความถูกต้องมากน้อยเพียงใด เมื่อเปรียบเทียบกับสารานุกรมโดยผู้เชี่ยวชาญ เช่น สารานุกรมบริเตนนิกา ซึ่งเป็นที่น่าเชื่อถือและเก่าแก่ที่สุดในโลก จึงมีการสำรวจด้านความถูกต้องของข้อมูลระหว่างสารานุกรมเสรีวิกิพีเดียและสารานุกรมบริเตนนิกา ทั้งนี้มีผลอ้างอิงจากการสำรวจการทดสอบความถูกต้อง ของบทความวิทยาศาสตร์โดยนิตยสาร Nature (วารสารทางด้านวิทยาศาสตร์ซึ่งได้รับความเชื่อถือเป็นอย่างสูง) ฉบับวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๔๘ หัวข้อเรื่อง Internet encyclopedias go head to head โดยนิตยสาร Nature ได้เลือกบทความ ในส่วนวิทยาศาสตร์ของสารานุกรมโดยผู้เชี่ยวชาญ (สารานุกรมบริเตนนิกา) และสารานุกรมเสรี (สารานุกรมเสรีวิกิพีเดีย) มาตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา การใช้คำที่เหมาะสม ความสวยงามของประโยคที่ใช้ ว่ามีความผิดพลาด ต่างกันมากเพียงใด ซึ่งผลจำนวนการผิดพลาดของสารานุกรมเสรี (สารานุกรมเสรีวิกิพีเดีย) กับสารานุกรม โดยผู้เชี่ยวชาญ (สารานุกรมบริเตนนิกา)จากนิตยสาร Nature แสดงได้ดังตารางการเปรียบเทียบ ความผิดพลาดของสารานุกรมโดยผู้เชี่ยวชาญ (Britannica) และ
สารานุกรมเสรี (Wikipedia)


ที่มา รายละเอียด

วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่6

การสำรวจสารานุกรมออนไลน์

ในอดีตนั้นการจัดทำสารานุกรมจะจัดทำในรูปแบบของหนังสือ ต่อมามีการพัฒนาให้อยู่ในรูปแบบของซอฟต์แวร์ (บันทึก ลงซีดี) นอกจากนี้ยังนำเนื้อหาสารานุกรมมาอยู่ในรูปแบบของเว็บไซต์(สารานุกรมออนไลน์) อีกด้วยโดยสารานุกรมออนไลน์นี้ เป็นการนำเครื่องมือมาเป็นสื่อกลางในการสื่อสารระหว่างผู้ใช้ ได้แก่ เว็บไซต์ สาเหตุที่มีการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการการจัดทำสารานุกรมเนื่องจากมีความสะดวกสบายและง่ายต่อการเข้าถึงมากขึ้น สารานุกรมออนไลน์ มิได้มีเพียงแต่การนำข้อมูลจากหนังสือมาจัดการบนเว็บไซต์ เพียงเท่านั้นแต่ได้มีการจัดทำสารานุกรมโดยให้ผู้ใช้เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างบทสารานุกรมขึ้นมารวมทั้งร่วมอภิปรายแก้ไขในบทสารานุกรมต่างๆ อีกด้วย

ประเภทของสารานุกรมออนไลน์ สามารถแบ่งออกเป็นสองประเภท

ก). แบ่งตามการใช้งานของผู้ใช้

หากแบ่งประเภทของสารานุกรมออนไลน์ตามการใช้งานของผู้ใช้แล้วสารานุกรมออนไลน์แต่ละแห่งนั้นจะมีความแตกต่าง
กันในเรื่องของการถ่ายทอดความรู้ของบทสารานุกรมผ่านเว็บไซต์โดยสามารถแบ่งประเภทของการให้ความรู้นั้นออกเป็นสอง
กลุ่มย่อย ได้แก่

(๑) กลุ่มที่ ๑ สารานุกรมออนไลน์ที่ให้ความรู้เพียงอย่างเดียวแต่ไม่มีการให้ผู้ใช้มีส่วนร่วมในการอภิปรายหรือแก้ไขในบท
สารานุกรม โดยสารานุกรมประเภทนี้จะนำสารานุกรมต่างๆ ที่ได้ตีพิมพ์ในหนังสือ มาอธิบายหรือให้ความรู้ผ่านเว็บไซต์
สารานุกรมออนไลน์ ประเภทนี้ เช่นโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

(๒) กลุ่มที่ ๒ เป็นสารานุกรมออนไลน์ที่เปิดกว้าง ให้ผู้ใช้มีส่วนร่วมในการอภิปราย แสดงความคิดเห็นรวมถึงแก้ไขบท
สารานุกรม ดังนั้นบทสารานุกรมต่างๆ นั้นจึงเกิดขึ้นจากการที่ผู้ใช้ร่วมกันสร้างขึ้นมาร่วมกัน โดยบทความจะถูกกลั่นกรองข้อมูล
ไปในตัวระหว่างที่มีการร่วมกันอภิปราย ของผู้ใช้สารานุกรมออนไลน์ประเภทนี้ ตัวอย่างของสารานุกรมออนไลน์ประเภทนี้ เช่น วีกิพีเดีย LoveToKnow1911

ที่มา รายละเอียด

วันพุธที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่5

สารานุกรมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

สารานุกรมทั่วไป (General Encyclopedias)

คือ สารานุกรมที่ให้ความรู้และข้อเท็จจริงทุกสาขาวิชา เป็นสารานุกรมที่จัดทำขึ้นสำหรับผู้อ่านทั่วไป ไม่ใช่สำหรับนักวิชาการอาจแบ่งย่อยออกเป็น 2 ประเภท คือ สารุกรมสำหรับเด็ก และสารานุกรมสำหรับผู้ใหญ่
สารานุกรมสำหรับเด็กแตกต่างจากสารานุกรมสำหรับผู้ใหญ่ คือสารานุกรมสำหรับเด็กมีขอบเขตแคบ เน้นเสริมหลักสูตรการเรียนการสอนในโรงเรียน ภาษาที่ใช้จะเป็นภาษาที่เด็กเข้าใจได้ง่าย ส่วนสารานุกรมสำหรับผู้ใหญ่จะมีขอบเขตกว้างขวางกว่า ภาษาที่ใช้เหมาะสมกับผู้ใหญ่

สารานุกรมเฉพาะวิชา (Subject Encyclopedias)

คือ สารานุกรมที่จัดทำขึ้นสำหรับนักวิชาการหรือผู้สนใจในสาขาวิชาต่าง ๆ มุ่งให้ข้อเท็จจริงเฉพาะสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง อธิบายรายละเอียดลึกซึ้งกว่าสารานุกรมทั่วไป

ตัวอย่างสารานุกรมทั่วไป

สารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พระนคร : ราชบัณฑิตยสถาน, 2498 – ปัจจุบัน.

เป็นสารานุกรมชุดแรกของไทย ให้ความรู้และข้อเท็จจริงในหลายสาขาวิชา เช่น สาขาวิชาสังคมศาสตร์ เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประวัติศาสตร์ ศาสนา ปรัชญา วรรณคดี ศิลปกรรม วัฒนธรรม เป็นต้น บทความแต่ละบทความจะมีอักษรย่อชื่อและสกุลของผู้เขียนไว้ท้ายบทความโดยแจ้งชื่อเต็มพร้อมคุณวุฒิและตำแหน่งงานไว้ท้ายเล่มทุกเล่ม มีดรรชนีท้ายเล่มทุกเล่ม ปัจจุบันได้มีการจัดพิมพ์ถึงเล่มที่ 23 ถึงคำว่า แม่แรง

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


ที่มา รายละเอียด