สารานุกรมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สารานุกรมทั่วไป (General Encyclopedias)
คือ สารานุกรมที่ให้ความรู้และข้อเท็จจริงทุกสาขาวิชา เป็นสารานุกรมที่จัดทำขึ้นสำหรับผู้อ่านทั่วไป ไม่ใช่สำหรับนักวิชาการอาจแบ่งย่อยออกเป็น 2 ประเภท คือ สารุกรมสำหรับเด็ก และสารานุกรมสำหรับผู้ใหญ่ สารานุกรมสำหรับเด็กแตกต่างจากสารานุกรมสำหรับผู้ใหญ่ คือสารานุกรมสำหรับเด็กมีขอบเขตแคบ เน้นเสริมหลักสูตรการเรียนการสอนในโรงเรียน ภาษาที่ใช้จะเป็นภาษาที่เด็กเข้าใจได้ง่าย ส่วนสารานุกรมสำหรับผู้ใหญ่จะมีขอบเขตกว้างขวางกว่า ภาษาที่ใช้เหมาะสมกับผู้ใหญ่ สารานุกรมเฉพาะวิชา (Subject Encyclopedias)
คือ สารานุกรมที่จัดทำขึ้นสำหรับนักวิชาการหรือผู้สนใจในสาขาวิชาต่าง ๆ มุ่งให้ข้อเท็จจริงเฉพาะสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง อธิบายรายละเอียดลึกซึ้งกว่าสารานุกรมทั่วไป ตัวอย่างสารานุกรมทั่วไป
สารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พระนคร : ราชบัณฑิตยสถาน, 2498 – ปัจจุบัน.
เป็นสารานุกรมชุดแรกของไทย ให้ความรู้และข้อเท็จจริงในหลายสาขาวิชา เช่น สาขาวิชาสังคมศาสตร์ เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประวัติศาสตร์ ศาสนา ปรัชญา วรรณคดี ศิลปกรรม วัฒนธรรม เป็นต้น บทความแต่ละบทความจะมีอักษรย่อชื่อและสกุลของผู้เขียนไว้ท้ายบทความโดยแจ้งชื่อเต็มพร้อมคุณวุฒิและตำแหน่งงานไว้ท้ายเล่มทุกเล่ม มีดรรชนีท้ายเล่มทุกเล่ม ปัจจุบันได้มีการจัดพิมพ์ถึงเล่มที่ 23 ถึงคำว่า แม่แรง สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ที่มา รายละเอียด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น