วันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่11









ตัวอย่างเปรียบเทียบระดับการเข้าถึงเนื้อหาของพจนานุกรม สารานุกรมและหนังสือวิชาการ






ความหมายโดยสากลของสารานุกรม (Encyclopedia) คือ หนังสือที่รวบรวมความรู้ทั่วๆ ไปหรือความรู้เฉพาะสาขาวิชาใด
วิชาหนึ่ง เช่น ด้านพืชหรือสัตว์ ด้านภูมิศาสตร์หรือประวัติศาสตร์ ด้านคอมพิวเตอร์ และอื่นๆ เป็นต้น สารานุกรมชุดหนึ่ง อาจจะ
ประกอบด้วยหนังสือจำนวนเล่มเดียวหรือหลายเล่ม ซึ่งในแต่ละ
เล่มจะมีการจัดเรียงที่แตกต่างกันออกไป โดยอาจเรียงลำดับตาม
ตัวอักษร เรียงลำดับตามเนื้อหา หรืออื่นๆ เพื่อความสะดวกในการ
จัดหมวดหมู่และการค้นหา โดยเนื้อหาในสารานุกรม อาจจะมี
ภาพประกอบ รูปถ่าย หรือตัวอย่างเพื่อช่วยให้ผู้อ่านสามารถ
เข้าใจได้สะดวก
สารานุกรม เป็นคำสนธิอันเกิดจากรากศัพท์
ในภาษาบาลี-สันสกฤตได้แก่ “สาร” หรือ “สาระ”
และคำว่า “อนุกรม” โดยพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้นิยาม “สาร” ว่า หมายถึง “ส่วนสำคัญ ข้อใหญ่ใจความ ถ้อยคำ” และ “อนุกรม” หมายถึง “ลำดับ
ระเบียบ ชั้น” จากความหมายทั้งสองคำ นัยของ “สารานุกรม” จึงได้รับการนำเสนอ คือ “หนังสือที่มีการรวบรวมความรู้

สารพัดวิชาและเรียบเรียงเอาไว้อย่างเป็นหมวดหมู่”
การเรียบเรียงสารานุกรมนี้นั้นอาจจะจัดทำโดยการ
เรียงลำดับตามความเกี่ยวเนื่องกันของเนื้อหา หรือ
มาจากการเรียงตามลำดับตัวอักษร ส่วนคำว่า
สารานุกรมจากภาษาอังกฤษกับคำ encyclopedia
หรือ encyclopædia (encyclopaedia) ปรากฏอยู่
หลากหลายในแหล่งข้อมูลต่างๆ ทั้งสารานุกรมฉบับ
พิมพ์และโลกอินเทอร์เน็ตที่นำเสนอสอดคล้อง
กันว่ามาจากศัพท์เดิมของภาษากรีกโบราณ
(enkyklia paideia) อันประกอบ
ด้วยคำแรกว่า “enkyklios” (“en” คือ “in” รวมกับ
“kyklios” ที่หมายถึง “circle”) มีความหมายคือ
“circular” หรืออีกนัยหนึ่งคือ “general” เมื่อนำมา
ร่วมกับคำท้ายว่า “paideia” ซึ่งหมายถึง “education”
หรือ “general education” หรือการให้ความรู้
ทั่วๆไปแล้ว ดังนั้นความหมายหนึ่งที่เป็นพื้นฐานของ
encyclopedia จึงปรากฏเป็น “training in a circle”
หรือ “วัฏจักรแห่งการฝึกฝนเรียนรู้”








ที่มา รายละเอียด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น